ระบบเครือข่ายและการสื่อสาร
1. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การติดต่อสื่อสารเป็นการพูดคุยหรือส่งข่าวสารกันของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในระยะมาใกล้ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นมีการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการสื่อสาร ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะทางไกลและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และโทรสาร1.1 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1) ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากมายสามารถถูกส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
2) ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล
3) ความเร็วของการรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้อย่างรวดเร็ว
4) การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถได้ในราคาถูกว่าการสื่อสารแบบอื่น
5) ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้ โดยไม่ต้องค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์
6) ความสะดวกในการในการประสานงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
7) ขยายบริการขององค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถกระจายที่ทำการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ
8) การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา
2. การสื่อสารข้อมูล
2.1 การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวสารโดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้1) ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message)
2) ผู้ส่ง (sender)
3) ผู้รับ (receiver)
4) สื่อกลางในการส่งข้อมูล (transmission media)
5) โพรโทคอล (protocol)
2.2 สัญญาณที่ใช้ในระบบการสื่อสาร
2.3 การถ่ายโอนข้อมูล เป็นการส่งสัญญาณจากอุปกรณ์ส่ง
1) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหลายๆ บิตพร้อมกัน จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่อง จึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางหลายๆ ช่องทาง โดยมากจะเป็นสายนำสัญญาณหลายๆ เส้นโดยจำนวนสายส่งจะต้องเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการส่งแต่ละครั้ง ปกติความยาวของสายไม่ควรยาวมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย การส่งโดยวิธนี้จึงนิยมใช้กับการส่งข้อมูลในระยะทางใกล้ๆ
นอกจากการส่งข้อมูลหลักแล้วอาจมีการส่งข้อมูลอื่นๆ อีก เช่น บิตพาริตีที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณ ที่ปลายทางหรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ (hand-shake)
2.4 รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูล
1) การสื่อสารทางเดียว (simplex transmission)
การติดต่อสื่อสารทางเดียวมีลักษณะการส่งข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากผุ้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ บอร์ด ประกาศ ภาพ เป็นต้น
2) การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex transmission)
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบกึ่งคู่มีลักษณะในการส่งข้อมูลได้สองทิศทางแบบสลับ แต่ละสถานีสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งรับและส่งข้อมูลแต่จะผลัดกันส่งผละผลัดกันรับ จะส่งหรือรับข้อมูลในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจวิทยุสื่อสารของระบบขนส่ง การรับส่งโทรสาร (Fax) เป็นต้น
3) การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex transmission) การติดต่อแบบทางคู่มีการส่งข้อมูลได้สองทางในเวลาเดียวกัน สามารถรับส่งข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลารอ เช่นการสนทนาทางโทรศัพท์ การสนทนาทางอินเตอร์เน็ต
3.สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
3.1 สื่อกลางแบบใช้สาย1) สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable) สายนำสัญญาณแบบนี้แต่ละคู่สายที่สายที่เป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว
2) สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายนำสัญญาณที่เรารู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี
3) สายไฟเบอร์ออพติก (fiber-optic cable) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยทำมาจากแก้ว
3.2 สื่อกลางแบบไร้สาย การสื่อสารแบบไร้สายอาศัยคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ
1) อินฟราเรด
2) ไมโครเวฟ
3) คลื่นวิทยุ
4) ดาวเทียมสื่อสาร
4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
4.1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้1) เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน
2) เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน
3) เครือข่ายนครหลวง หรือแมน
4) เครือข่ายวงกว้างหรือแวน
4.2 ลักษณะของเครือข่าย
1) เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ หรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์
2) เครือข่ายระดับเดียวกัน
4.3 รูปเครือข่าย โดยทั่วไปรูปร่างเครือข่ายสามารถแบบออกตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้ 4 รูปแบบ คือ
1) เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
2) เครือข่ายแบบวงแหวน(ring topology)
3) เครือข่ายแบบดาว(star topology)
4) เครือข่ายแบบเมช (mesh topology)
5. โพรโทคอล
สำหรับโพรโทคอลที่ใช้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารแบบใช้สาย และแบบไร้สาย ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น-ทีซีพี/ไอพี(Transmission Control Protocol/Internet Protocol :TCP/IP)
-ไวไฟ(Wireless Fidelily: Wi-Fi)-ไออาร์ดีเอ เป็นโพรโทคลอใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้ และไม่มีสิ่งกีดขวาง
-บลูทูท เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่
6.อุปกรณ์การสื่อสาร
6.1 โมเด็ม(modem)1)โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์
2) ดิจิทัลโมเด็ม-ดีเอสแอล เป็นโมเด็มที่ไดกรับความนิยมในการใช้งานในบ้าน และสำนักงานขนาดเล็ก
3)เคเบิลโมเด็ม เป็นโมเด็มทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายเคเบิลทีวี
6.2 การ์ดแลน(LAN card)
6.3 ฮับ(hub)
6.4 สวิตช์(switch)
6.5 อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router)
6.6 จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless access point)